บทที่ 1


บทที่ 1 ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการจะเกิดขึ้นได้ ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ทดลองช่วยกันป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น ฉะนั้นผู้ทดลองต้องมีความรู้ความเข้าใจต่อการปฏิบัติตนในห้องปฏิบัติการเป็นพื้นฐาน เช่น รู้ระเบียบข้อบังคับ รู้ถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู่ในสารเคมี ไม่ทำงานด้วยความประมาท สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มีความสำคัญมากที่ต้องศึกษาให้มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งก่อนที่จะปฏิบัติการทดลอง
ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ห้องปฏิบัติการทดลองเป็นสถานที่ทำงาน ต้องทำการทดลองด้วยความตั้งใจ
ต้องอ่านคู่มือห้องปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะห้องปฏิบัติการทดลอง และพยายามทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการทดลอง หากไม่เข้าใจให้ถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อนการทดลอง
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผลการทดลองผิดพลาด
เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม
ถ้ากรดหือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีเพราะสารเคมีหลายชนิดซึมเข้าไปผิวหนังอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้
อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นไดๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำช้า ๆ พร้อมกวนตลอดเวลา
เมื่อต้องการดมสาเคมี อย่าดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสารเคมีเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง)
ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นพิษหรือสารที่ไวต่อปฏิกิริยาหือสารที่มีกลิ่นเหม็น การทดลองได ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซนี้ควรทำในตู้ควัน
อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจมีสารเคมีปะปน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาทเลินเล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้

การกำจัดสารอันตรายที่หกหล่น รั่วไหล

เมื่อสารเคมีหกอาจเกิดอันตรายได้หากไม่ระมัดระวัง เพราะสารเคมีบางชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย บางชนิดติดไฟง่าย ดังนั้นเมื่อสารเคมีหกจะต้องรีบเก็บกวาดให้เรียบร้อยทันทีดังต่อไปนี้
สารที่เป็นของแข็ง สารเคมีที่เป็นของแข็งหก ควรใช้แปลงกวาดรวมกันใส่ในช้อนตักแล้วจึงนำไปใส่ในภาชนะ
สารละลายที่เป็นกรด เมื่อกรดหกต้องรีบทำให้เจือจางด้วยน้ำก่อนแล้วโรยโซดาแอส หรือสารละลายด่างเพื่อทำให้กรดเป็นกลางจากนั้นจึงล้างด้วยน้ำสะอาด

ข้อควรระวัง เมื่อเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นที่หก เช่น กรดกำมะถัน จะมีความร้อนเกิดขึ้นและกรดอาจกระเด็นออกมา จึงควรเคย ๆ เทน้ำลงไปมาก ๆ เพื่อให้เกิดการเจือจางและความร้อนที่เกิดขึ้นรวมทั้งการกระเด็นจะน้อยลง
สารละลายที่เป็นด่าง เมื่อสารเคมีที่เป็นของด่างหก ต้องเทน้ำลงไปเพื่อลงความเข้มข้นของด่างแล้วเช็ดให้แห้งพยายามอย่าให้กระเด็นขณะเช็ด เนื่องจากสารละลายด่างจะทำให้พื้นลื่น
สารที่ระเหยง่าย เมื่อสารเคมีที่ระเหยง่ายหกจะระเหยกลายเป็นไออย่างรวดเร็วบางชนิดติดไฟได้ง่าย บางชนิดเป็นอันตรายต่อผิวหนังและปอด การทำความสะอาดสารระเหยง่ายทำได้ดังนี้
4.1 ถ้าสารที่หกมีปริมาณน้อย ใช้ผ้าขี้ริ้วเช็ดถูออก
4.2 ถ้าสารที่หกมีปริมาณมาก ทำให้แห้งโดยใช้ไม้ที่มีปุยผูกที่ปลายสำหรับเช็ดถู
สารที่น้ำมัน สารพวกนี้เช็ดออกได้โดยใช้น้ำมาก ๆ เมื่อเช็ดออกแล้วพื้นบริเวณที่สารหกจะมีกลิ่นให้ล้างด้วยผงซักฟอก เพื่อสารที่ติดอยู่ออกไปให้หมด
สารปรอท สารปรอทไม่ว่าอยู่ในรูปไดล้วนเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้นเพราะทำอันตรายต่อระบบประสาท ดังนั้นการทดลองใดที่เกี่ยวข้องกับสารปรอทต้องใช้ความระมัดระวังให้ กรณีที่สารปรอทหกวิธีการที่ถูกต้องควรปฏิบัติดังนี้
6.1 กวาดสารปรอทมากองรวมกัน
6.2 เก็บสารปรอทโดยใช้เครื่อง
6.3 ถ้าพื้นที่สารปรอทหกหรือรอยร้าว ควรปิดรอยแตกด้วยขี้ผึ้งทาพื้นหนา ๆ เพื่อกันการระเหยของปรอทหรือหรือใช้ผงกำมะถันพรมลงไป ปรอทจะเปลี่ยนเป็นสารประกอบซัลไฟลด์ แล้วเก็บกวาดอีกครั้งหนึ่ง


การใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย

สารเคมีทุกชนิดมีอันตรายมากน้อยแตกต่างกัน ผู้ปฏิบัติการทดลองทางเคมีควรที่จะต้องรู้ถึงอันตรายจากสารเคมีเหล่านี้ วิธีที่จะช่วยลดอันตรายจากสารเคมีได้คือ ถ้าเป็นไปได้พยายามหลีกเลี่ยงสารที่เป็นพิษ ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง เช่น การใช้กรดเข้มข้นในการทดลองจะต้องเทในตู้ควัน

อันตรายจากสารเคมีต่อสุขภาพของคนเกิดจากสารเคมีเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเข้าได้ 3 ทาง คือ ทางปาก ทางจมูก และทางผิวหนัง สารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าไปในร่างกายอาจทำลายได้บางชนิด อาจถูกขับออกทางปัสสาวะ บางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ได้สารใหม่เกิดขึ้นและและออกฤทธิ์เมื่อมีความเข้มข้นมากพอ ด้วยเหตุนี้การใช้สารเคมีจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน
ทักษะการเทสารเคมี
เทคนิคการเทของเหลวหรือสารละลายออกจากบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ
การเทของเหลวหรือสารละลายที่อยู่ในบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ ลงในภาชนะอีกชนิดหนึ่ง มีวิธีทำดังนี้
-ถือแท่งแก้วคนให้สัมผัสปากของบีกเกอร์บริเวณที่จะให้สารละลายไหลออก
-เอียงบีกเกอร์เพื่อให้สารละลายไหลลงมาตามแท่งแก้วคนลงสู่ภาชนะรองรับสารละลายออกจากบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ
-เมื่อได้ปริมาณของของเหลวตามต้องการแล้วให้ถือบีกเกอร์แนวตั้งฉากกับพื้นและให้ของเหลวจากปากบีกเกอร์ไหลลงไปตามแท่งแก้วคนจนหมด


เทคนิคการถ่ายเทสารละลายจากปิเปตหรือหลอดหยด

เทคนิคการถ่ายเทสารละลายที่อยู่ในปิเปตหรือหลอดหยดลงในภาชนะที่บรรจุสารละลายอีกชนิดหนึ่งหากไม่รู้วิธีการที่ถูกต้องอาจเกิดผลเสียต่อการทดลอง วิธีการที่ถูกต้องควรทำดังนี้
-ทำให้ปิเปตหรือหลอดหยดมีสารละลายอยู่เต็ม
-ถือปิเปตหรือหลอดหยดอยู่เหนือสารละลายที่ต้องการจะเติมสารในปิเปตหรือหลอดหยดลงไป ระวังอย่าให้ปลายปิเปตหรือหลอดหยดจุ่มอยู่ในสารละลาย เพราะจะทำให้สารละลายปะทะกัน

-ค่อย ๆ ปล่อยให้สารละลายในปิเปตหรือหลอดหยดไหลลงไป
ทักษะการใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร

อุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวได้แก่ ขวดปริมาตร บิวเรตต์ ปิเปต และกระบอกตวง การอ่านปริมาตรของเหลวที่ถูกต้องในอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องอ่านในระดับเดียวกับจุดต่ำสุดของส่วนโค้งเว้า

ตำแหน่งของระดับสายตาในการอ่านปริมาตร มีความสำคัญต่อค่าที่ได้จากการอ่านปริมาตรมากกล่าวคือ

-ถ้าระดับสายตาอยู่เหนือส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมากกว่าปริมาตรจริง
-ถ้าระดับสายตาอยู่ระดับเดียวกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมีค่าถูกต้อง
-ถ้าระดับสายตาอยู่ต่ำกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะน้อยว่าปริมาตรจริง

ก. ปริมาตรที่อ่านได้จะมากกว่าปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่สูงกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุด
ข. ปริมาตรที่อ่านได้จะเท่ากับปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่ในระดับเดียวกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุด
ค. ปริมาตรที่อ่านได้จะน้อยกว่าปริมาตรจริง เนื่องจากระดับสายตาอยู่ต่ำกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุด

ทักษะการใช้ขวดปริมาตร

ขวดปริมาตรเป็นเครื่องมือที่ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐานหรือสารละลายที่เข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิมได้ ขวดปริมาตรมีหลายขนาด เช่น ขนาด 50 มล. 100 มล. 250 มล. 500 มล. 1000 มล. 2000 มล. เป็นต้น



โดยทั่วไปจะนำสารละลายนั้นละลายในบีกเกอร์ก่อนแล้วเทลงในขวดปริมาตรโดยใช้กรวยกรอง จากนั้นเติมตัวทำละลายไปให้ปริมาตรถึงขีดบอกปริมาตร การเตรียมสารละลายโดยใช้ขวดปรับปริมาตรมีเทคนิคดังนี้
-ละลายสารในขวดปริมาตรมีประมาณ ? ของขวด ปิดจุกแล้วหมุนขวดปริมาตรด้วยข้อมือ
-เติมตัวทำละลายลงในขวดปริมาตรให้ส่วนโค้งเว้าต่ำสุดอยู่ตรงขีดบอกปริมาตร การต้องอ่านระดับสายตาในระดับเดียวกัน เพื่อป้องกันการอ่านปริมาตรผิด
-ปิดจุกขวดปริมาตรคว่ำขวดจากด้านบนลงล่าง ทำแบบนี้ 2 – 3 ครั้ง เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
-จากข้อ 3 กลับขวดปริมาตรอยู่ลักษณะเดิม จับคอขวดหมุนไปมา ? รอบ เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน

  ที่มาwww.envi.cmru.ac.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น